ไทม์ไลน์คดีหุ้น ITV “พิธา” จากจุดเริ่มต้น จนถึงวันนัดชี้ชะตา 24 ม.ค.

จากกรณี คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) พิจารณารายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง กรณีมีหลักฐานปรากฏว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดในวันสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 82 วรรคสี่

โดย กกต. มติเห็นว่า สมาชิกภาพของนายพิธา มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) จึงให้ส่งเรื่องไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยต่อไป

เราจะมาย้อนดูไทม์ไลน์คดีดังกล่าวว่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัย และมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ระหว่างนั้นมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

10 พฤษภาคม2566 – นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ยื่นเรื่องให้ กกต. ตรวจสอบ กรณีเชื่อได้ว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น

19 พฤษภาคม2566 – นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน และนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล อดีตแกนนำพิราบขาว 2006 ยื่นเรื่องร้องเรียนกรณีหุ้น ITV ของนายพิธาเช่นเดียวกัน

29 พฤษภาคม2566 – กกต. เชิญ 3 ผู้ร้องให้ตรวจสอบกรณีหุ้น ITV มายืนยันคำร้องและให้ถ้อยคำเพิ่มเติม ประกอบด้วย นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นายสนธิญา สวัสดี และนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล

6 มิถุนายน 2566– นายพิธา แสดงความมั่นใจในหลักฐานของตัวเอง และยังมั่นใจว่ากรณีดังกล่าวจะไม่กระทบกับการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคก้าวไกล พร้อมกันนั้นได้โอนหุ้นให้ทายาทคนอื่น เนื่องจากเห็นว่ามีขบวนการพยายามที่จะฟื้นคืนชีพให้ ITV กลายเป็นสื่อมวลชนเพื่อนำมาใช้เล่นงานตนเอง

6 มิถุนายน2566 – ที่ประชุม กกต. เริ่มพิจารณากรณีสำนักงานกกต.รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องขอให้ตรวจสอบว่านายพิธา มีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3)และมาตรา42(3) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. เนื่องจากถือหุ้น itv หรือไม่

8 มิถุนายน 2566– คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีหุ้น ITV ของนายพิธา คู่ขนานกับการตรวจสอบของ กกต.

9 มิถุนายน 2566– ที่ประชุม กกต. มีมติไม่รับ 3 คำร้องขอให้ตรวจสอบกรณีการถือหุ้นไอทีวีของนายพิธาไว้พิจารณา เนื่องจากเป็นการยื่นเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่รับเรื่องไว้พิจารณาตามมาตรา 151 เหตุรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิ์สมัครแต่ยังฝืน พร้อมตั้งคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนขึ้นมาดำเนินการ (เริ่มนับวันที่ 1 ตามกระบวนการ)

11 มิถุนายน 2566– มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอบันทึกการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ITV ประจำปี 2566 บริษัทไอทีวี จำกัด(มหาชน) โดยมีผู้ถือหุ้นถามว่า "บริษัท ไอทีวี มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อ หรือไม่" ซึ่งประธานในที่ประชุม ให้ตอบว่า "ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใดๆ รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อน" ซึ่งถือว่าย้อนแย้งเอกสารการประชุมที่ระบุชัดทำสื่อตามวัตถุประสงค์ของบริษัท

14 มิถุนายน 2566– เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยืนยันว่านายพิธา ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มเติมเมื่อปี 2562 พร้อมแนบคำสั่งศาลเป็นผู้จัดการมรดกหุ้นไอทีวีจริง พร้อมให้ข้อมูลดังกล่าวแก่ กกต. หากทาง กกต.มีการร้องขอ

14 มิถุนายน 2566– ทนายรัชพล ศิริสาคร ยื่นหนังสือถึง กกต. เพื่อคัดค้านการดำเนินการสอบนายพิธา เนื่องจากพบข้อขัดแย้งในตัวเอกสารที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นำมายื่นร้องตั้งแต่ต้น พร้อมขอให้ กกต.แจ้งความเอาผิดนายเรืองไกร ฐานร้องเรียนมั่ว

28 มิถุนายน 2566– นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา เข้าหารือร่วมกับ กกต. พร้อมส่งข้อมูลจากการตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีหุ้น ITV ของนายพิธา ให้แก่ กกต.ใช้ประกอบการพิจารณา

9 กรกฎาคม2566– คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน กกต. กรณีนายพิธา ถือครองหุ้นไอทีวี ได้สรุปข้อเท็จจริง พยานหลักฐาน ข้อกฎหมายเสร็จสิ้น

 ไทม์ไลน์คดีหุ้น ITV “พิธา” จากจุดเริ่มต้น จนถึงวันนัดชี้ชะตา 24 ม.ค.

10 กรกฎาคม2566– พรรคก้าวไกล ได้ส่งหนังสือด่วนไปยัง สำนักงาน กกต. เพื่อคัดค้านการที่ กกต.จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยกรณีหุ้นสื่อหรือหุ้นไอทีวี ของนายพิธา เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนตามระเบียบ กกต. ระบุไว้เอง และเห็นว่ามีความเร่งรัดเกินกว่าเหตุ

11-12 กรกฎาคม 2566– ที่ประชุม กกต. พิจารณารายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง กรณีนายพิธา ถือครองหุ้นไอทีวี อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 82 วรรคสี่หรือไม่ โดยพิจารณาติดต่อกันเป็นเวลา 2 วัน

12 กรกฎาคม2566– ที่ประชุม กกต. เห็นว่าสมาชิกภาพของนายพิธา มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) จึงให้ส่งเรื่องไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

17กรกฎาคม2566– เอกสารนัดประชุมศาลรัฐธรรมนูญหลุด แจ้งวาระการประชุมพิจารณาเรื่อง กกต.ขอให้วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของนายพิธา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ โดยนัดหมายในวันที่ 19กรกฎาคม

19 กรกฎาคม2567 – ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัย และมีคำสั่งให้ผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนับแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย และให้นายพิธายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่ วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

จากนั้นนายพิธา ได้ยื่นขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญ 2 ครั้ง โดยศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาขยายเวลาให้ครั้งละ 30 วัน

11 ตุลาคม2567 – ศาลรัฐธรรมนูญ มีการอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย โดยพิจารณาให้บุคคลและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดทำความเห็นและจัดส่งเอกสารหลักฐานตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนด ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน

22 พฤศจิกายน2567 – ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปราย และกำหนดนัดพิจารณาคดีต่อ

24 มกราคม 2567 – ศาลนัดฟังคำวินิจฉัยคดีดังกล่าว หลังได้ไต่สวนพยาน รวม 3 ปาก คือ นายแสวง บุญมี, นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และนายคิมห์ สิริทวีชัย โดยตอบข้อซักถามของศาลและของคู่กรณี คดีเป็นอันเสร็จการไต่สวนแล้ว

เปิดเงื่อนไข กาตาร์ พบ จีน ส่งผลต่อทีมไทย ลุ้นเข้ารอบ 16 ทีมเอเชียน คัพ 2023

ผลบอลเอเชียน คัพ 2023 ทาจิกิสถาน ตาม กาตาร์ เข้ารอบ 16 ทีม

กรมการจัดหางาน รับสาวไทยทำงานที่ญี่ปุ่น สมัครฟรี! ถึง 26 ม.ค. นี้